top of page
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมในหลักสูตร

แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ต้องมีคุณสมบัติ ความรู้และทักษะขั้นต่ำตามสมรรถนะหลัก 6 ด้าน ดังนี้

1)  การดูแลสุขภาพสตรี (Woman’s health)

2)  ความรู้และทักษะทางการแพทย์ (medical Knowledge and Skills)

3)  การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง (Learning and improvement)

4)  ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

5)  ความเป็นนักวิชาชีพ (Professionalism)

6)  การปฏิบัติงานภายใต้ระบบ (System-based practice)

 

วิธีการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน

1). การดูแลสุขภาพสตรี (Woman’s health)

การป้องกัน ส่งเสริม และดูแลสุขภาพสตรีแบบองค์รวม ในลักษณะการทำงานเป็นทีม (team approach) และสหวิชาชีพโดยครอบคลุมระยะก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดในผู้ป่วยสูติกรรมและระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์ และวัยหมดระดู สำหรับผู้ป่วยนรีเวชกรรม โดยมีหลักการดังนี้

  • แพทย์ประจำบ้าน ปีที่ 1 มีสมรรถนะ

  • ดูแลผู้ป่วยสูติกรรมที่ไม่ซับซ้อน

  • ดูแลผู้ป่วยนรีเวชกรรมที่ไม่ซับซ้อน

  • แพทย์ประจำบ้าน ปีที่ 2 มีสมรรถนะ

  • ดูแลผู้ป่วยทางสูติกรรมที่ซับซ้อน

  • ดูแลผู้ป่วยทางนรีเวชกรรมที่ซับซ้อน

  • แพทย์ประจำบ้าน ปีที่ 3 มีสมรรถนะ

  • เป็นหัวหน้าทีมในการดูแลผู้ป่วยสูติกรรม

  • เป็นหัวหน้าทีมในการดูแลผู้ป่วยนรีเวชกรรม

  • ความสามารถให้ความรู้แก่บุคลากรผู้ให้บริการและผู้มาขอรับบริการ

 

2). ความรู้ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการดูแลสุขภาพสตรีและสังคมรอบด้าน (Medical Knowledge and Skills)

ก. แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 เรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (Correlated basic medical science)

ข. แพทย์ประจำบ้านปีที่ 2, 3 ปฏิบัติงานในอนุสาขาวิชาของสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ค. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปี เข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เช่น interesting case conference, morbidity-mortality conference, perinatal conference, inter-hospital conference, journal club เป็นต้น

 

3). การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)

ก. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและสหวิชาชีพ

ข. แพทย์ประจำบ้านมีความก้าวหน้าในสมรรถนะตามที่กำหนดในแต่ละชั้นปี

ค. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีต้องสามารถวิพากษ์บทความวิชาการและดำเนินการงานวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก

ง. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

 

4). ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

ก. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีเรียนรู้ทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ข. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีมีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านในชั้นปีที่ต่ำกว่า

ค. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาในกิจกรรมวิชาการของภาควิชา เช่น case conference เป็นต้น

 

5). ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

ก. แพทย์ประจำบ้านได้รับการสนับสนุนให้เกิดความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้ทางด้านบูรณาการทางการแพทย์

ข. แพทย์ประจำบ้านได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตัวเองให้มีเจตคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยและญาติ ในขณะปฏิบัติงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งชุมชน

 

6). การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)

ก. แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องระบบสุขภาพของประเทศ กระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล และความปลอดภัยของผู้ป่วย

ข. แพทย์ประจำบ้านได้รับการประเมินความสามารถในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งด้านประสิทธิภาพ (effectiveness) และประสิทธิผล (efficiency)  

bottom of page